อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
 
ประวัติความเป็นมา
ลักษณะที่ตั้ง
(อาณาเขต และเขตการปกครอง)
ตำบลสะเดา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครอง และการบริหารของอำเภอสะเดาได้มีการเติบโตขยายตัวของชุมชนมาโดยลำดับ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2482 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 ลงวันที่ 30 กันยายน 2482) ตั้งอยู่ที่ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 359 ตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากอาณาเขตตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดากว้างขวางมาก ไม่สามารถบริหารงานต่างๆ ได้ทั่วถึง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเดิมเสียใหม่ เพื่อความสะดวกในการบริหารงาน ตามประกาศในพระราชกฤกษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ตราไว้ ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2475 คงเหลือเนื้อที่เพียง 47 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสะเดาเป็นเทศบาลเมืองสะเดา

อาณาเขต
ทิศเหนือ จด เทศบาลตำบลปริก
ทิศตะวันออก จด องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว
ทิศตะวันตก จด เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
ทิศใต้ จด เทศบาลตำบลสำนักขาม

สภาพทางภูมิศาสตร์
ลักษณะของพื้นที่ สภาพทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาย่อมๆ ติดต่อกัน มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ คลองอู่ตะเภาไหลผ่านทางทิศตะวันออก และคลองเล่ไหลผ่านทางทิศตะวันตก แม่น้ำทั้งสองสายไหลมาบรรจบกันกับเส้นแบ่งเขตเทศบาลเมืองสะเดากับตำบลปริก ดังนั้นฝั่งแม่น้ำทั้งสองสาย จึงเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง

ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิอากาศ มีฝนตกพอประมาณจนถึงตกหนัก อากาศไม่ร้อนและไม่หนาว เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดผ่านในเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านในเดือนกันยายน - มกราคม ผลิตผลทางการเกษตร คือ ยางพารา

ภูมิอากาศ
อณภูมิสูงสุด 38.5 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 23.8 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในพื้นที่อำเภอสะเดา จะมีฝนตกในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของปีถัดไป จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตกทั้งปี เปรียบเทียบกัน 3 ปี พ.ศ. 2556 จะมีจำนวนวันฝนตก 68 วัน ปริมาณน้ำฝน 1,257.8 มิลลิเมตร น้อยกว่าปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมีจำนวนวันฝนตกทั้งปี 82 วัน ปริมาณน้ำฝน 1,557.8 มิลลิเมตร
ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลสะเดาในครั้งแรกซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๖ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๘๒ ขณะนั้นมีพื้นที่จำนวน ๓๕๙ ตารางกิโลเมตร โดยได้กำหนดเขตเทศบาลตำบลสะเดา จังหวัดสงขลาไว้ดังนี้ คือ

ต้านใต้
ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ห่างจากสะพานคอนกรีตในหมู่บ้านทับโกบประมาณ ๘ กิโลเมตร ถือตามเส้นแบ่งระหว่างรัฐปลิศกับรัฐไทรบุรีของอังกฤษ ไปทางทิศตะวันออกจดหลักเขตที่ ๒ ตามเขตแดนระหว่างอำเภอสะเดากับรัฐไทรบุรีของอังกฤษและอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่เขาบาตูตีกา

ด้านเหนือ
จากหลักเขตที่ ๒ ถือตามเส้นภูเขาน้ำค้าง แบ่งเขตระหว่างอำเภอสะเดากับอำเภอจะนะ จังหวัด สงขลา ไปทางทิศเหนือจดหลักเขตที่ ๓ ตรงเขตแดน ระหว่างตำบลสะเดากับตำบลปริก อำเภอสะเดา ที่ควนพลา

ต้านตะวันออก
จากหลักเขตที่ ๓ ถือตามเส้นแบ่งเขตระหว่าง ตำบลสะเดากับตำบลปริก อำเภอสะเดาไปทางทิศตะวันตก จดหลักเขตที่ ๔ ตรงเขตแดนระหว่างตำบลสะเดากับตำบลปริกและตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา

ต้านตะวันตก
จากหลักเขตที่ ๔ ถือตามเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลสะเดากับตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดาและรัฐเปอร์ลิสของอังกฤษ ขนานและห่างจากทางรถไฟสายใต้ตอนหาดใหญ่- ปาดังเบซาร์ ๔ กิโลเมตร ไปทางใต้จนบรรจบกับหลักเขตที่ ๑

คณะเทศมนตรีชุดแรกของเทศบาลตำบลสะเดาในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๘๒) ประกอบด้วย ขุนวิเทศชนวิจารณ์เป็นนายกเทศมนตรี หมื่น ผาสุกเชิด และ นายทองคำ กาญจนโรจน์ เป็นเทศมนตรี นายเปลี่ยน บุญนวล เป็นปลัดเทศบาล ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่นายชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นนายอำเภอ

ผู้เขียนเป็นชาวนาทวีโดยกำเนิด มาอยู่ที่ อำเภอสะเดาตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๙ หลังจากตั้งเทศบาลมาแล้ว ๗ ปี โดยมาอยู่ที่บ้านของขุนวิเทศชนวิจารณ์ อดีตนายด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดาและนายกเทศมนตรีตำบลสะเดา ที่บ้านของขุนวิเทศชนวิจารณ์นี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนราษฎร์ระดับมัธยมในสมัยนั้น ชื่อว่าโรงเรียนสะเดามัธยมวิทยา โดยมีคุณเจริญ ณ สงขลา (อดีตเทศมนตรีตำบลสะเดา) เป็นเจ้าของและผู้จัดการ โรงเรียนนี้ได้เลิกกิจการมาแล้ว ประมาณ ๖๐ ปี

ในสมัยนั้นขุนวิเทศชนวิจารณ์เป็นผู้ที่มีที่ดินมากคนหนึ่ง เพราะที่ดินบริเวณ "ซอยเอี่ยมใจ" ทุกสาย ขยายออกไปทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่ดินของขุนวิเทศชนวิจารณ์ทั้งหมดรวมเนื้อที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ และเหตุที่ได้ตั้งชื่อถนนว่า "ซอยเอี่ยมใจ" เพราะ ภรรยาของขุนวิเทศชนวิจารณ์ชื่อคุณนายเอี่ยมใจ ณ สงขลา ที่ดินดังกล่าวได้ขายให้คนอื่นไปหมดแล้ว คงทิ้งไว้แต่ชื่อถนน ซอย เป็นอนุสรณ์เท่านั้น ระยะเวลาต่อมาในช่วงนี้การศึกษาของเยาวชนที่สะเดายังไม่เจริญพ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนมากไม่ค่อยมีส่วนส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุตรหลานของตนเรียนต่อในชั้นมัธยมหลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (ชั้นประถมสูงสุดในขณะนั้น) ทั้งนี้เพราะไม่มีโรงเรียนระดับชั้นมัธยมประจำอำเภอ หากต้องการเรียนต่อก็ต้องไปเรียนที่ตัวจังหวัด ซึ่งห่างไกลออกไปถึง ๗๐ กิโลเมตร

การคมนาคมไปมาหาสู่กันก็ไม่สะดวก มีถนนสายหลัก ๆ อยู่เพียง ๓ สาย คือสายสะเดา – หาดใหญ่ สายสะเดา – ปาดังเบซาร์ และสายสะเดา - ด่านนอก มีรถยนต์วิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่เพียงสายละ ๒ - ๓ คัน เท่านั้น ยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ อาคารบ้านเรือน และร้านค้าในตัวตลาดยังใช้ตะเกียงเจ้าพายุให้แสงสว่าง บริเวณรอบ ๆ ตัวตลาดสะเดาเป็นสวนยางและป้าไผ่ ไม่มีบ้านเรือนและตึกรามบ้านช่องอยู่กันหนาแน่นเหมือนอย่างปัจจุบันนี้

ผู้เขียนมาอยู่สะเดาในสมัยที่นายผาสุข ช่างชุม เป็นนายกเทศมนตรี นายยอด มณีรัตน์ และ นายประศาสน์ อุดมศักดิ์ เป็นเทศมนตรี นายเจิม ปาณชู เป็นปลัดเทศบาลฝ่ายอำเภอมี ร.ต.อ.หวน มุตตาหารัช เป็นนายอำเภอ ร.ต.อ.วิชัย ตุมรสุนทร เป็นผู้บังคับกองตำรวจภูธร นายสุภัทร คลี่ขจาย เป็นนายด่านศุลกากรและ ร.ต.อ.ไพโรจน์ อุณหชาติ เป็นหัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองสะเดา โดยเฉพาะคนหลังสุดถูกโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาจับตัวไปที่ริมชายแดนไทย - มาเลเซีย ใกล้ด่านพรมแดนสะเดา (ฝั่งมาเลเซีย) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ในสมัยนายชูชัย สุวรรณรังสี เป็นนายอำเภอ และหายสาบสูญไปจนกระทั่งบัดนี้ เชื่อว่า มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อน

" ท่องเที่ยวสะเดาก้าวหน้า แหล่งการค้าชายแดน ศูนย์ศึกษานานาชาติ สะอาดทุกมุมเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม "
ตราสัญลักษณ์และความหมาย
เทศบาลเมืองสะเดา มีตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล เป็นสัญลักษณ์รูปเทวดาถือพานรัฐธรรมนูญ

ความหมาย
สัญลักษณ์รูปเทวดา แสดงถึง ความศักดิ์สิทธิ์
สัญลักษณ์รูปพานรัฐธรรมนูญ แสดงถึง การปกครองซึ่งทุกองค์กรต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องปกครองประชาชนตามครรลองแห่งประชาธิปไตย
-- ไม่มีข้อมูล --